สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

โครงการอ่านเขียนพูดดีมีเงินออม

โครงการอ่านเขียนพูดดีมีเงินออม

โครงการอ่าน-เขียน-พูดดีมีเงินออม

วิธีการ/ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือพัฒนา

1.   เขียนกิจกรรมนำเสนอในที่ประชุมวิชาการและขออนุมัติกิจกรรม

2.  แจ้งรายละเอียดกิจกรรมให้ครูและนักเรียนรับทราบ

 3.   คัดกรองนักเรียนเรื่องการอ่าน-เขียนทุกชั้น

4.   แก้ไขและพัฒนานักเรียนเป็นช่วงชั้น  ช่วงชั้นที่  1  (ชั้น ป.1-3 ) ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นป.4-6)ช่วงชั้นที่ 3  (ชั้น ม.1-3)   

5.    แต่ละช่วงชั้นแบ่งกลุ่มนักเรียนตามความสามารถของนักเรียน จากครูวินิจฉัย

กลุ่มที่ 1 อ่าน-เขียนไม่ได้  /กลุ่มที่ 2  อ่าน  -  เขียนไม่คล่อง/กลุ่มที่ 3  อ่านเขียนได้คล่อง

6.   ครูประจำชั้นศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลคนในแต่ละชั้นเรียนที่รับผิดชอบ

7.    การจัดทำสื่อและนวัตกรรมเพื่อนำมาแก้ไขและพัฒนาผู้เรียน เช่น แบบฝึกอ่านสะกด

และเขียนคำแบบฝึกอ่านแจกลูก  แบบฝึกอ่าน  แบบอ่านประโยคและอ่านเนื้อเรื่อง 

และ เขียนสะกดคำยาก   เขียนตามคำบอก  การอ่านและเขียนร้อยกรอง การท่องอาขยาน

 

8.  สำรวจความบกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล  จะต้องให้การแก้ไขและพัฒนาให้เหมาะสม

9.  จัดกิจกรรมที่หลากหลาย  ตามความสนใจ  ตามความถนัด  เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ

10.  ฝ่ายวิชาการจัดตารางเวลาเรียนเพื่อเอื้อต่อการทำกิจกรรมและให้เหมาะสมกับช่วงชั้น

11.  จัดห้องเรียนให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะพัฒนานักเรียนแต่ละกลุ่ม  

               -  ห้องเรียน  นักเรียนอ่าน-เขียนไม่ได้

               -  ห้องเรียน  นักเรียนอ่าน – เขียนไม่คล่อง   

               -  ห้องเรียน  นักเรียนอ่านคล่อง-เขียนคล่อง

12.  ในแต่ละห้องจะมีครูอยู่ประจำห้องๆละ  2-3  คน เพื่อร่วมกันแก้ไขและพัฒนานักเรียน

13.  นักเรียนเข้าเรียนตามตารางที่แจ้งไว้กับครูประจำชั้น

14.  จัดทำเครื่องมือในการทดสอบความรู้ของนักเรียนที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ

15.  ทดสอบและเก็บข้อมูล เพื่อดูพัฒนาการของนักเรียน  สรุปผลการดำเนินงาน

 

ผลการดำเนินโครงการ

1.  นักเรียนอ่านคล่อง-เขียนคล่อง

2.  นักเรียนใช้ภาษาสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี

3.  นักเรียนใช้ภาษาไทยเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้วิชาอื่นได้เป็นอย่างดี

4.  นักเรียนใช้ทักษะภาษาไทยเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้

5.  นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน

6.  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยดีขึ้น

view